วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง (24 มิถุนายน)

ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ต่อมาเรียกตนเองว่า  "คณะราษฎร"  ได้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
          คณะราษฎรเกิดจากการรวมกลุ่มของข้าราชการและนักเรียนไทย 7 คนในฝรั่งเศสและยุโรปที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม  ภายใต้การนำของนายปรีดี  พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)  เมื่อนักเรียนเหล่านี้กลับมาเมืองไทยก็ได้ขยายกลุ่มสมาชิกภายในประเทศและขอให้พันเอก  พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ  โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นแกนนำฝ่ายพลเรือน  หลวงพิบูลสงครามเป็นแกนนำฝ่ายทหารบก

          1.  สาเหตุของการปฏิวัติ  เกิดจากปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยทางเศรษฐกิจ  ในด้านปัจจัยทางการเมือง  การปฏิรูปบ้านเมืองและปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5  ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่เรียนรู้รูปแบบการเมืองการปกครองของชาติตะวันตก  ทำให้เห็นว่าการปกครองโดยคน ๆ เดียวหรือสถาบันเดียวไม่อาจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทั้งหมด  นอกจากนี้ชนชั้นกลางจำนวนมากไม่พอใจที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผูกขาดอำนาจการปกครองและการบริหารราชการ  กลุ่มคนรุ่นใหม่ต้องการให้มีการปกครองระบอบรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญ  บางกลุ่มต้องการให้มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐ
          ในด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ  ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและการดุลข้าราชการออกจำนวนมากเพื่อตัดลดงบประมาณ  ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการและประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ  ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรใช้โจมตีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

          2.  เหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  ในวันที่ 24 มิถุนายน  คณะผู้ก่อการเข้ายึดอำนาจการปกครองที่กรุงเทพมหานคร  และจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่  เช่น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า ฯ  กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพอภิรัฐมนตรี  เป็นตัวประกัน
          ส่วนบริเวณลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม  พันเอก  พระยาพหลพลพยุหเสนา  หัวหน้าคุณะผู้ก่อการได้อ่านประกาศยึดอำนาจการปกครอง  ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี  ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
          ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมารับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฏร  เพราะทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของราษฎรและไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ  รวมทั้งพระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว
          ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475  คณะราษฎรได้เข้าเฝ้า ฯ  และนำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม  พุทธศักราช 2475  ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย  เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธย  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเติมคำว่า  "ชั่วคราว"  ต่อท้ายรัฐธรรมนูญ  นับเป็นการเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของไทย  ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  ได้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม  พระราชวังดุสิต

รัฐสภาไทย

รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง
ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
  • หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
  • หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
  • หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมือง

พรรคการเมืองที่ลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้ง ปี 2554

หมายเลข 1  พรรคเพื่อไทย
หัวหน้าพรรค นายยงยุทธ วิชัย

หมายเลข 2  พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
หัวหน้าพรรค ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์

หมายเลข 3  พรรคประชาธิปไตยใหม่
หัวหน้าพรรค นายสุรทิน พิจารณ์

หมายเลข 4  พรรคประชากรไทย
หัวหน้าพรรค นายสุมิตร สุนทรเวช

หมายเลข 5  พรรครักประเทศไทย
หัวหน้าพรรค นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 


หมายเลข 6  พรรคพลังชล
หัวหน้าพรรค นายเชาวน์ มณีวงษ์

หมายเลข 7  พรรคประชาธรรม
หัวหน้าพรรค นายมุคตาร์ กีละ

หมายเลข 8  พรรคดำรงไทย
หัวหน้าพรรค นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู 

หมายเลข 9  พรรคพลังมวลชน
หัวหน้าพรรค นายกรภพ ครองจักรภพ

หมายเลข 10  พรรคประชาธิปัตย์
หัวหน้าพรรค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

หมายเลข 11  พรรคไทยพอเพียง
หัวหน้าพรรค นายจำรัส อินทุมาร

หมายเลข 12  พรรครักษ์สันติ
หัวหน้าพรรค พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์

หมายเลข 13  พรรคไทยเป็นสุข
หัวหน้าพรรค นายประดิษฐ์ ศรีประชา

หมายเลข 14  พรรคกิจสังคม
หัวหน้าพรรค นายทองพูล ดีไพร

หมายเลข 15  พรรคไทยเป็นไท
หัวหน้าพรรค นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา 

หมายเลข 16  พรรคภูมิใจไทย
หัวหน้าพรรค นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

หมายเลข 17  พรรคแทนคุณแผ่นดิน
หัวหน้าพรรค นายวิชัย ศิรินคร 

หมายเลข 18  พรรคเพื่อฟ้าดิน
หัวหน้าพรรค นางสาวขวัญดิน  สิงห์คำ 

หมายเลข 19  พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
หัวหน้าพรรค นายโชติ บุญจริง

หมายเลข 20  พรรคการเมืองใหม่
หัวหน้าพรรค นายสมศักดิ์ โกศัยสุข

หมายเลข 21  พรรคชาติไทยพัฒนา
หัวหน้าพรรค นายชุมพล ศิลปอาชา

หมายเลข 22  พรรคเสรีนิยม
หัวหน้าพรรค นายพุทธชาติ  ช่วยราม

หมายเลข 23  พรรคชาติสามัคคี
หัวหน้าพรรค นายนพดล ไชยฤทธิเดช

หมายเลข 24  พรรคบำรุงเมือง
หัวหน้าพรรค นายสุวรรณ ประมูลชัย

หมายเลข 25  พรรคกสิกรไทย
หัวหน้าพรรค นายจำลอง  ดำสิม

หมายเลข 26  พรรคมาตุภูมิ
หัวหน้าพรรค พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน

หมายเลข 27  พรรคชีวิตที่ดีกว่า
หัวหน้าพรรค นางพูลถวิล ปานประเสริฐ (เหรัญญิกพรรครักษาการแทน)

หมายเลข 28  พรรคพลังสังคมไทย
หัวหน้าพรรค นายวิวัฒน์ เลอยุกต์

หมายเลข 29  พรรคเพื่อประชาชนไทย
หัวหน้าพรรค นายดิเรก  กลิ่นจันทร์

หมายเลข 30  พรรคมหาชน
หัวหน้าพรรค นายอภิรัต ศิรินาวิน 

หมายเลข 31  พรรคประชาชนชาวไทย
หัวหน้าพรรค นายสุนทร ศรีบุญนาค

หมายเลข 32  พรรครักแผ่นดิน
หัวหน้าพรรค นายประทีป ประภัสสร

หมายเลข 33  พรรคประชาสันติ
หัวหน้าพรรค นายดลสวัสด์ิ ชาติเมธี (รองหัวหน้าพรรครักษาการแทน)

หมายเลข 34  พรรคความหวังใหม่
หัวหน้าพรรค นายชิงชัย มงคลธรรม

หมายเลข 35  พรรคอาสามาตุภูมิ
หัวหน้าพรรค นายมนตรี  เศรษฐบุตร

หมายเลข 36  พรรคพลังคนกีฬา
หัวหน้าพรรค นายวนัสธนา สัจจกุล

หมายเลข 37  พรรคพลังชาวนาไทย
หัวหน้าพรรค นายสวัสดิ์ พบวันดี

หมายเลข 38  พรรคไทยสร้างสรรค์
หัวหน้าพรรค นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์ (เลขาธิการพรรครักษาการแทน)

หมายเลข 30  พรรคเพื่อนเกษตรไทย
หัวหน้าพรรค นายทรงเดช สุขขำ (รองหัวหน้าพรรคปฏิบัติหน้าที่แทน)

หมายเลข 40  พรรคมหารัฐพัฒนา
หัวหน้าพรรค นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์

  
                                 โฉมหน้าหัวหน้าพรรคและสัญลักษณ์ประจำพรรค 

หมายเลข
ชื่อพรรค
หัวหน้าพรรค
                  สัญลักษณ์พรรค
1
พรรคเพื่อไทย

นาย ยงยุทธ วิชัยดิษฐ



2
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร


       
3
พรรคประชาธิปไตยใหม่ 

นายสุรทิน พิจารณ์



        
         
4
พรรคประชากรไทย

นายสุมิตร สุนทรเวช



  
 
5
พรรครักประเทศไทย

นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

    
6
พรรคพลังชล

รองศาสตราจารย์เชาว์ มณีวงษ์
7
พรรคประชาธรรม

นายมุคตาร์ กีละ
8
พรรคดำรงไทย
นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู
   
9
พรรคพลังมวลชน
นายไกรภพ ครองจักรภพ
        
10
พรรคประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

  
11
พรรคไทยพอเพียง
นายจำรัส อินทุมาร
12
พรรครักษ์สันติ
พลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์
13
พรรคไทยเป็นสุข
นายประดิษฐ์ ศรีประชา


        
14
พรรคกิจสังคม
นายทองพูล   ดีไพร
  
15
พรรคไทยเป็นไทย
นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา
16
พรรคภูมิใจไทย
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

17
พรรคแทนคุณแผ่นดิน
นายวิชัย ศิรินคร


18
พรรคเพื่อฟ้าดิน
นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ
19
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
นายโชติ บุญจริง

  
20
พรรคการเมืองใหม่
นายสมศักดิ์  โกศัยสุข
21
พรรคชาติไทยพัฒนา
นายชุมพล ศิลปอาชา


22
พรรคเสรีนิยม
นายพุทธชาติ ช่วยราม

23
พรรคชาติสามัคคี
นายนพดล ไชยฤทธิเดช

24
พรรคบำรุงเมือง
นายสุวรรณ ประมูลชัย



         
25
พรรคกสิกรไทย
 นายจำลอง  ดำสิม

26
พรรคมาตุภูมิ
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน

27
พรรคชีวิตที่ดีกว่า
นางพูลถวิล ปานประเสริฐ


28
พรรคพลังสังคมไทย
นายวิวัฒน์ เลอยุกต์
29
พรรคเพื่อประชาชนไทย
นายดิเรก กลิ่นจันทร์
     
         
30
พรรคมหาชน
นายอภิรัต ศิรินาวิน
31
พรรคประชาชนชาวไทย
นายสุนทร ศรีบุญนาค
     
    
32
พรรครักแผ่นดิน
นายประทีป ประภัสสร
33
พรรคประชาสันติ
นายดลสวัสด์ ชาติเมธี
34
พรรคความหวังใหม่
นายชิงชัย   มงคลธรรม
35
พรรคอาสามาตุภูมิ
นายมนตรี เศรษฐบุตร
36
พรรคพลังคนกีฬา
นายวนัสธนา สัจจกุล
37
พรรคพลังชาวนาไทย
นายสวัสดิ์ พบวันดี
38
พรรคไทยสร้างสรรค์
นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์
39

พรรคเพื่อนเกษตรไทย
นายทรงเดช สุขขำ  
  

40
พรรคมหารัฐพัฒนา
นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์